จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                        ประวัติเจ้าของตัวเอง




นางสาว  ชุติมา   สุขศรี   
ชื่อเล่น  องุ่น  อายุ  17
เชื้อชาติ  ไทย   สัยชาติ  ไทย  ศาสนา  พุทธ
เกิดวันที่  3  มกราคม  2540
ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/2  สายวิทย์-คณิต
โรงเรียนท่ามะขามวิทยา
เคยศึกษาที่ :โรงเรียนอนุบาลโพธาราม
บ้านเลขที่ 34/5  หมู่2   ต.  บ้านสิงห์   อ.โพธาราม  จ.  ราชบุรี    70120
ชอบสีฟ้า   
คติประจำตัว  : ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ  สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Facebook : Chutima  sooksri
E-mail : angun700@gmail.com

เพลง

สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัด เชียงใหม่

  10 ที่เที่ยวฮิตเชียงใหม่ ใครไปต้องหลงรัก



1. เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของเมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองเก่าประมาณ 10 กิโลเมตร สามารถมองเห็นจากตัวเมืองได้ชัดเจน
,
2.วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สูงที่สุดของอาณาจักรล้านนา สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน
3.วัดพระสิงห์วรวิหาร อยู่ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์เม็งรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู
4.สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ได้รับการจัดสภาพอย่างดี บริเวณกว้างขวาง มีบรรยากาศร่มรื่น และมีสัตว์อยู่มากกว่า 2,000 ชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำเข้ามาจากต่างประเทศ
5.ถนนคนเดินท่าแพ เป็นสถานที่ชอปปิ้งสุดฮิตของเมืองเชียงใหม่ เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ภายในคูเมืองบริเวณถนนราชดำเนิน สินค้าที่นำออกมาวางขายมีมากมายทั้งสินค้าพื้นเมือง สินค้า OTOP
6.สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่น ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่อันจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น
7.ดอยอินทนนท์ เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดของแดนสยาม 2,565 เมตร จุดสิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 1009 มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นที่ตั้งสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทยและเป็นที่ประดิษฐานสถูปเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้าย
8.พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นพระตำหนักประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า สามารถเดินชมโดยรอบตำหนักและบริเวณซึ่งมีแปลงกุหลาบ สวนเฟิร์น และไม้นานาพรรณ
9.บ้านม้งดอยปุย เป็นสถานที่หนึ่งที่เราประทับใจ เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย บริเวณหมู่บ้านจำหน่ายของที่ระลึกจำนวนมากซึ่งมีทั้งที่ผลิตภายในหมู่บ้าน และนำจากที่อื่นมาวางจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
10.ถนนนิมมานเหมินทร์ ตั้งอยู่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นถนนสั้นๆ ความยาวไม่ถึงกิโลฯ แต่ถือว่าเป็นทำเลทองของการทำธุรกิจ เป็นแหล่งรวบรวมความทันสมัย หากจะเปรียบแล้วถนนนิมมานเหมินทร์ก็คงคล้ายกับถนนสุขุมวิทของกรุงเทพฯ นั่นเอง
"เชียงใหม่มีที่เที่ยวสวยๆ ให้เลือกไปเพียบ"







สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัด พัทลุง

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง


           พัทลุง เป็นเมืองเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.1480 เก่าแก่กว่าสุโขทัย คือ เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) สลับผลัดเปลี่ยนกันบางช่วง ที่ตั้งของเมืองเดิมอยู่ที่ยะลา ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ท่าเสม็ด ควนมะพร้าว และบ้านม่วง
          และในปี พ.ศ.2315 ย้ายเมืองมาอยู่ที่อำเภอลำปาย จนกระทั่งครั้งสุดท้าย ย้ายมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน และได้รับการยกฐานขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ.2476
จังหวัดพัทลุง แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม และอำเภอศรีนครินทร์
           จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทาง 840 กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด 3,424.5 กิโลเมตร
           สัญลักษณ์ประจำจังหวัด รูปเจดีย์เก่าประดิษฐานบนยอดเขาอกทะลุ
           ดอกไม้ประจำจังหวัด พะยอม
           ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา
           ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล
           ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสงขลา
           ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง
Phattalung
                                                           ล่องเรือแลน้ำ

                                                                       ทะเลน้อยพัทลุง
การเดินทาง
           โดยทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลขที่4 ขับเรื่อยมาจนถึงจังหวัดชุมพร แล้วให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ขับผ่านเรื่อยมาจนถึงจังหวัดพัทลุง
           โดยทางรถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุกวัน
           โดยทางรถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน
           โดยทางเครื่องบิน จังหวัดพัทลุงไม่มีสนามบิน แต่สามารถโดยสารเครื่องบินได้โดยไปใช้บริการที่จังหวัดตรังหรือสนามบินนานาชาติที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็ได้ แล้วจึงต่อรถโดยสารเข้ามายังจังหวัดพัทลุงอีกทอดหนึ่ง
           จังหวัดพัทลุง เป็นเมืองที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่ผู้มาเยือนมิควรพลาดการเที่ยวชม อาทิ
SiamPhoto0000538

          พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือที่เรียกว่า พระสี่มุมเมือง เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ และเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาจัตุรมุข ซึ่งอยู่บริเวณด้านหน้าระหว่างศาลากลางเมืองจังหวัดพัทลุงกับศาลจังหวัดพัทลุงเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ที่จังหวัดพัทลุง เมื่อปี พ.ศ.2511

kuha

           วัดคูหาสวรรค์ วัดนี้สร้างในสมัยอยุธยา ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในจังหวัดพัทลุง อยู่ใกล้กับตลาดพัทลุงภายในวัดนี้ถ้ำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ และยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามผนังถ้ำด้วย บริเวณหน้าถ้ำ ยังมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์อยู่หลายพระองค์
cover-sadoodta_1292


           วัดวัง ตั้งอยู่ที่ตำบลลำบำ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4047 ประมาณ 6 กิโลเมตร สร้างในสมัยรัชการที่ 3 โดยพระยาพัทลุง (ทองขาว) เคยเป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 108 องค์ ซึ่งประดิษฐานเรียงรายอยู่ตามระเบียงคต


cover-sadoodta_1285

          ถ้ำสุมโน ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านนา ห่างจากตัวเมืองพัทลุงไปตามถนนสายพัทลุง-ตรัง ประมาณ 21 กิโลเมตร ตัวถ้ำอยู่ห่างจากถนนใหญ่ประมาณ 500 เมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม วิจิตรตระการตาถ้ำมี 2 ชั้น ชั้นแรกเสมอกับพื้นราบและชั้นใต้ดิน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ถ้ำสุมโนยังเป็นสถานที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงของภาคใต้อีกแห่งหนึ่งด้วย

37_20090320073451_

           ถ้ำมาลัย อยู่ห่างจากสถานีรถไฟพัทลุงประมาณ 2 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 7-8 มีทางถนนลูกรังแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถ้ำนี้อยู่ในเทือกเขาลูกเดียวกับเขาอกทะลุ ถูกพบโดยพระธุดงค์ที่เดินธุดงค์มาจากภาคอีสานชื่อพระมาลัย จึงตั้งชื่อถ้ำตามผู้ค้นพบ ภายในถ้ำมีลักษณะกว้างขวางสลับซับซ้อน มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก และมีแอ่งน้ำใสอยู่ตอนในสุดของถ้ำด้วย

watgean1


          วัดเขียนบางแก้ว ไปตามถนนทางหลวงหมายเลข 4081 อยู่ในเขตอำเภอบางแก้วตรง กม. ที่ 14 ทางเข้าอยู่ทางซ้ายมือ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีพระธาตุบางแก้ว สร้างแบบเดียวกับพระธาตุนครศรีธรรมราชแต่ขนาดเล็กกว่า เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุงเชื่อว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณวัดเขียนบางแก้วเคยเป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงมาก่อน เพราะค้นพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย

30



          ภูเขาอกทะลุ เขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง มีความสูงประมาณ 250 เมตร มีบันไดและทางปีนขึ้นเขาเพื่อชมความงามของเมืองพัทลุง ลักษณะพิเศษของภูเขาอกทะลุคือ มีโพรงทะลุมองเห็นอีกด้าน อยู่บริเวณปลายของยอดเขา ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูเขาอกทะลุ


5_1237428393

          วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า-วังใหม่) ตั้งอยู่ใกล้กับวัดวัง แต่เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบัน ยังเหลืออยู่ส่วนหนึ่งคือ วังเก่า สร้างในสมัยพระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจนวงษ์) เป็นผู้ว่าราชการต่อมาวังได้ตกทอดมาถึงนางประไพ มุตามะระบุตรีของหลวงศรีวรฉัตร ส่วนวังในสร้างเมื่อปี พ.ศ.2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจนวงษ์) บุตรชายของพระยาพัทลุง ปัจจุบันทายาทของตระกูลจันทโรจนวงษ์ ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติแล้ว ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.2526
SiamPhoto0000537


          อนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) ประดิษฐานอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ เทศบาลเมืองพัทลุง ประวัติกล่าวว่า เดิมท่านเป็นพระชื่อว่ามหาช่วยจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าเลไลยก์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ขณะนั้นเกิดสงคราม 9 ทัพ พระมหาช่วยได้ออกมาช่วยพระยาพัทลุง นำชาวบ้านเข้าต่อต้านกองทัพพม่าจนแตกพ่าย ต่อมาจึงได้ลาสิกขาแล้วได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ มีตำแหน่งเทียบเท่าเจ้าเมือง

sansuknumbum

          หาดแสนสุขลำบำ อยู่เลยจากวัดวังไปตามถนนหลวงหมายเลข 4047 ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่มีทัศนียภาพที่สวยงามและมีทิวสนที่ร่มรื่น อยู่ริมฝั่งทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีศาลากลางน้ำขื่อ ศาลาลำบำที่รัก สำหรับชมทิวทัศน์รอบทะเลสาบ และจากบริเวณชายหาดมีสะพานเชื่อมไปยังเกาะลอย ซึ่งเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของตะกอนปากน้ำลำบำ นอกจากนี้ที่ลำบำแห่งนี้ยังพบฝูงปลาโลมาหัวบาตรปรากฏให้เห็นได้บ่อยครั้ง

gallery_20100217_1f6f68b 
          อุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า ตั้งอยู่ที่บ้านในวังตำบลเขาปู่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ37 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 41ไปอำเภอควนนุน แล้วไปแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4164 สู่อำเภอศรีบรรพตเข้าไปประมาณ 17 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก 4กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานฯ ซึ่งมีภาพเป็นป่าร่มรื่น มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 433,750 ไร่ หรือ 694 ตารางกิโลเมตรในบริเวณอุทยานฯ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ ถ้ำมัจฉาปลาวน อยู่ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยแลดูสวยงามดั่งหลืบม่าน มีแอ่งน้ำกว้างประมาณ 400 ตารางเมตร และมีฝูงปลาว่ายวนไปมาอยู่ในแอ่ง แอ่งน้ำนี้เกิดจากต้นน้ำซึ่งไหลผ่านทะลุเขาในวัง หน้าถ้ำเป็นผาหินสีนิล และร่มรื่นด้วยพรรณไม้นานาชนิด น้ำตกเหรียงทอง อยู่ห่างจากชุมชนตลาดเขาปู่ประมาณ 3 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขานครศรีธรรมราชและได้รับการขนานนามว่า "น้ำตกร้อยชั้น" ชั้นที่สวยงามที่สุด คือ ชั้นที่ 13 ซึ่งมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ทะเลน้อยของเขาปู่-เขาย่าได้ จุดชมวิวผาผึ้ง อยู่ห่างจากที่ทำการกลางประมาณ 250 เมตร จุดเด่นของผาผึ้งคือ ในราวประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุกปี จะมีผึ้งหลวงมาทำรังนับเป็นร้อยรังบริเวณหน้าผาและเมื่อถึงฤดูฝนผึ้งเหล่านี้ก็จะทิ้งรังปล่อยให้เป็นรังร้าง ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ทุกปี บริเวณจุดชมวิวผาผึ้งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอุทยานและพรรณไม้ต่าง ๆ ได้ ทางเดินชมธรรมชาติ เป็นทางสำหรับเดินชมธรรมชาติ อยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานฯ มี 2 เส้นทาง แต่ละเส้นทางมีความกว้างประมาณ 3 เมตร เหมาะสำหรับเดินชมธรรมชาติเพื่อเป็นการศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ และเมื่อความเพลิดเพลินได้นอกจากนี้ ในบริเวณที่ทำการอุทยานฯ ยังมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นศูนย์จัดนิทรรศการ ขนาดย่อม สำหรับให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งทางอุทยานฯ ได้จัดแสดงนิทรรศการภาพประกอบคำบรรยายไว้พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ไว้คอยอธิบายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว มีห้อง สำหรับจัดประชุมและสัมมนาขนาดจุได้ประมาณ 30 คน และในบริเวณใกล้เคียงกันทางอุทยานฯ ได้จัด สถานที่สำหรับกางเต็นท์ได้ประมาณ 50 หลัง
caochison

          บ่อน้ำร้อน-ธารน้ำเย็น จากตัวจังหวัดไปทางใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 4 ประมาณ 25 กิโลเมตร เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 47 (บ้านท่านางพรหม) จะมีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4081 ไปอำเภอเขาชัยสน ประมาณ 6 กิโลเมตร บริเวณถนนสุขาภิบาล ซอย 2 ติดที่ว่าการอำเภอเขาชัยสน จะมีทางลูกรัง แยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็ถึงหน้าผาเชิงเขาชัยสน อันเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำเย็นแต่งเป็นสวนพักผ่อน เลยไปอีก 300 เมตร เป็นวัดบ่อน้ำร้อน ลักษณะเป็นแอ่งน้ำร้อน เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้รักษาโรคบางอย่างได้

pra 
          อุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4048 จากอำเภอเมืองพัทลุง-อำเภอควนขนุน ไปดที่ทะเลน้อย ระยะทาง 32 กม. ทางราดยางตลอดทั้งสาย เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีพื้นที่ประมาณ 281,250 ไร่ โดยมีพื้นน้ำประมาณ 17,500 ไร่ อยู่บริเวณเหนือสุดของทะเลสาบสงขลา ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีนกอยู่มากมายกว่า 150 ชนิด จำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัวนกที่มีมากได้แก่ นกอีโก้ง นกพริก นกเป็ดแดง นกเป็ดคับแค นกเป็ดผี นกกาบบัว นกอีล้ำ นกอีลุ้ม นกกะปูด นกนางนวล นกนางแอ่น นกยางเฟีย นกอัญชัญ นกกระสาแดง นกกระสานวล อีกา เหยี่ยวต่างๆ ฤดูกาลที่เหมาะที่สุดสำหรับการไปดูนก คือช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน และที่ทะเลน้อยยังมีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น ย่านลิเภา จูดหนู แขม กก สามเหลี่ยม กง ลาโพ จูด บัวหลวง บัวสายแดง บา จอกหูหนู ผักตบชวา และสาหร่ายต่างๆ เป็นต้น ปัจจุบันทะเลน้อยได้รับเลือกให้เป็นแรมซ่าร์ไซด์ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำของโลก เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
gallery_20100217_2961a7d


          เกาะสี่ เกาะห้า อยู่ในเขตทะเลสาบสงขลา-พัทลุง เป็นที่อยู่ของนกนางแอ่นทะเลเป็นจำนวนมาก จึงถูกเรียกว่า "เกาะรังนก" มีการขอสัมปทานเพื่อนำรังนกเหล่านี้ไปจำหน่าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสและทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้ ณ บริเวณหน้าผา การเข้าชมเกาะขออนุญาตได้จากบริษัท สัมปทานรังนก อำเภอปากพะยูนก่อน

20091221238_03


          น้ำตกไพรวัลย์ ตั้งอยู่ในหน่วยพิทักษ์ป่าบ้านพูด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลคลองเฉลิม เส้นทางเข้าใช้เส้นทางจากบ้านคลองหมวยไปตามถนนตำบลลำสินธุ์-บ้านกงหรา (ทางหลวงหมายเลข 4122) ประมาณ 20 กิโลเมตร มีทางเข้าน้ำตกอยู่ทางทิศตะวันตกเป็นทางลูกรังระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีความงดงามตามธรรมชาติเงียบสงบ และร่มเย็น อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดบริเวณน้ำตกมีลานจอดรถและร้านอาหารไว้บริการ




          จังหวัดพัทลุงยังมีเทศกาลและประเพณีที่สำคัญและขึ้นชื่อนั่นก็คือประเพณีแข่งโพนลากพระ งานเทศกาลล่องเรือแลนกทะเลน้อย เป็นต้น

นิทาน

     

sนิทานพื้นบ้าน เรื่อง คนมีโชค


กล่าวถึงสาวงามนางหนึ่ง ผู้มีเสน่ห์ตรึงตราตรึงใจ ชายหนุ่มหลายคนต่างหลงใหลรักใคร่แต่นางเป็นหญิงที่คิดดี ประพฤติดี รู้จักรัก รู้จักเลือก จึงยังไม่รับรักจากชายใด วันหนึ่งมีชายหนุ่มที่แสนดีและขยันหมั่นเพียรมาหลงรักนางและสามารถเอาชนะใจนางได้ สองหนุ่มสาวจึงตกลงปลงใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
วันเวลาแห่งความสุขผ่านไปไม่นาน สามีของนางก็ล้มป่วยและตายจากกันไป สร้างความโศกเศร้าเสียใจให้กับนางยิ่งนักแต่ด้วยความรักที่มีต่อสามี นางจึงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะไม่ขอมีความรักกับชายใดอีก และจะขออยู่เป็นหม้ายไปตลอดชีวิต ดังนั้น เมื่อเผาศพของสามีเรียบร้อยแล้ว นางจึงเก็บกะโหลกศีรษะของสามีไว้บนหัวนอนเพื่อกราบไหว้ก่อนนอนทุกคืน จนกระทั่งความรักความซื่อสัตย์ของนางเป็นที่กล่าวขานเล่าลือกันไปทั่วทั้งหมูบ้าน หนุ่มๆทั้งหลายต่างก็ปรารถนาที่จะได้นางมาครอบครอง แต่ด้วยความรักที่มั่นคงนางจึงไม่สนใจผู้ใดทั้งสิ้น
กล่าวถึงชายหนุ่มคนหนึ่งผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศปรารถนาจะได้นางมาเป็นคู่ครองเช่นเดียวกับชายหนุ่มทั้งหลาย จึงมุ่งมั่นคิดหาวิธีเอาชนะใจนางจนกระทั่งหาวิธีได้สำเร็จ เขาจึงไปหากะโหลกศีรษะมาอันหนึ่ง แล้วนำผ้ามาห่อไว้อย่างเรียบร้อย ครั้นถึงเวลากลางคืน ชายหนุ่มก็สะพายกะโหลกศีรษะนั้นเดินผ่านหน้าบ้านของนางในดวงใจ พร้อมกับตะโกนถามว่า “ใครอยู่บนเรือนบ้าง ข้าขอน้ำดื่มสักหน่อยเถอะ”
ฝ่ายหญิงงามผู้ซื่อสัตย์ครั้นได้ยินเสียงตะโกนก็ถามชายหนุ่มจนได้ความว่า เดินทางมาจากแดนไกล และข้ามแม่น้ำไปฝั่งโน้น แต่ตอนนี้ดึกแล้วจึงไม่มีเรือข้ามเป็นแน่แท้ จึงอยากขอพักค้างแรมสักคืน วันพรุ่งนี้ก็จะเดินทางต่อไป
เมื่อได้ยินเรื่องราวทั้งหมดจากชายหนุ่ม นางจึงตอบไปว่า “ข้าเป็นผู้หญิงตัวคนเดียวนอนอยู่เรือนหลังนี้ ครั้นจะอนุญาตให้ท่านขึ้นไปนอนบนเรือนก็ไม่เป็นการสมควรนัก ข้าขอให้ท่านไปนอนที่ใต้ถุนยุ้งข้าวโน่นเถิด” ซึ่งชายหนุ่มก็ลงไปนอนที่ใต้ถุนยุ้งข้าวอย่างเต็มใจ แต่ก่อนนอนเขาได้นำกะโหลกศีรษะออกมาวางไว้บนหัวนอนอย่างทะนุถนอม
รุ่งเช้าชายหนุ่มก็แกล้งทำเป็นไม่สบายมาก และพูดกับกะโหลกศีรษะว่า “น้องจ๋า วันนี้พี่ไม่สบายมาก สงสัยว่าเราคงเดินทางต่อไปไม่ได้” ครั้นหญิงสาวผ่านมาได้ยินชายหนุ่มพูดกับกะโหลกศีรษะ ก็นึกในใจว่าชายหนุ่มนั้นคงจะรักภรรยาของตนมากเหมือนกับที่นางรักสามี เพราะแม้ว่าจะตายจากกันไปแล้ว ก็ยังนำกะโหลกศีรษะติดตัวไปไหนมาไหนด้วยเสมอ นางจึงเข้าไปถามไถ่ชายหนุ่มถึงอาการไม่สบาย ซึ่งในขณะนั้นก็เกิดพายุฝนตกลงมาอย่างหนัก ครั้นเห็นชายหนุ่มนอนเปียกฝนอยู่ก็เกิดความสงสารจึงรีบบอกให้ชายหนุ่มขึ้นไปนอนบนเรือน เพราะใต้ฝนยุ้งข้าวฝนสาดเข้ามาหมดแล้ว
ในที่สุดชายหนุ่มก็ย้ายขึ้นมานอนบนชานเรือนของนางอันเป็นที่รัก และก็ไม่ลืมที่จะนำเอากะโหลกศีรษะมาตั้งไว้บนหัวนอนของตนด้วย พอตกกลางคืน เมื่อชายหนุ่มเห็นว่านางนั้นเข้านอนแล้ว ก็แอบย่องเข้าไปในเรือนขโมยกะโหลกศีรษะสามีของนางที่วางไว้บนหัวนอนออกมาทันที
ครั้นรุ่งเช้าพอถึงเวลาที่นางตื่น ชายหนุ่มก็เริ่มแสดงท่าทางโกรธเกรี้ยวไม่พอใจ ส่งเสียงโวยวายดังลั่น “โอ้โฮ ข้าทิ้งเจ้าไว้ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นก็แอบมาเล่นชู้กันเสียแล้ว เสียแรงที่ข้าทั้งรักและไว้ใจเจ้า” สิ้นเสียงชายหนุ่มก็เอาค้อนมาทุบหัวกะโหลกทั้งสองจนแหลกละเอียด
ฝ่ายหญิงสาวที่เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดก็เสียใจอย่างหนักกับการกระทำอันเลวร้ายของสามีที่เจ้าชู้เหลือเกิน เสียแรงรัก เสียแรงซื่อสัตย์ เหลือเพียงกะโหลกศีรษะก็ยังไม่วายที่จะไปเล่นชู้กับภรรยาของชายอื่นให้ตนเจ็บช้ำน้ำใจ
เมื่อชายหนุ่มเห็นว่าแผนการของตนนั้นสำเร็จไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว ก็เริ่มแผนการลำดับต่อไปทันที โดยตอนสายๆของวันนั้น ชายหนุ่มก็เข้าไปกล่าวล่ำลานางเพื่อออกเดินทางต่อไป แต่หญิงสาวกลับพูดกับชายหนุ่มด้วยความห่วงใยว่า “ท่านยังไม่หายป่วยเลย จะรีบไปทำไมล่ะ พักผ่อนอยู่ที่นี่ก่อนเถอะ” แล้วนางก็ไปหายามาให้ชายหนุ่มกิน เฝ้าดูแลรักษาอาการป่วยของชายหนุ่มอย่างใกล้ชิด
ในที่สุดชายหนุ่มก็เป็นผู้โชคดี สามารถครอบครองหัวใจรักและซื่อสัตย์ของหญิงงามที่ตนหมายปองได้

ประวัติบุคลสำคัญ

                      พระราชประวัติสมเด็จพระสุริโยไท




สมเด็จพระสุริโยไท


สมเด็จพระสุริโยไท หรือ พระสุริโยไท วีรสรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีใน สมเด็จพระหาจักรพรรดิหรือพระเฑียรราชา พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยาราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยไท ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามี ในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในปี พ.ศ. ๒๐๙๑ พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยไท เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้พระราชประวัติพระราชประวัติของสมเด็จพระสุริโยไทยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน - นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)
พระราชโอรสและพระราชธิดา


สมเด็จพระสุริโยไท มีพระราชโอรส-พระราชธิดา ๕ พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้
  • พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต เป็นพระมหาอุปราช ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ระหว่างไปหงสาวดี
  • พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเสียพระสุริโยไท
  • พระสวัสดิราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศรมหาราช และสมเด็จพรเอกาทศรถ
  • พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ 
  • ใน ปี พ.ศ. ๒๑๑๒
  • พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศ
  • พระนางถูกพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี สาเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองชิงตัวไปก็เพราะพระเทพกษัตรีเป็นหน่อเนื้อของ
  • พระสุริโยไท   

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการก่อสร้าง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยไท ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพระอนุสาวรีย์ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสุริโยไท
วีรกรรม
ความเป็นมาของสงครามระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนั้น มีเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ได้รู้ข่าวกรุงศรีอยุธยาเกิดเหตุวุ่นวาย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระแก้วฟ้า พระราชโอรส และขุนวรวงศาธิราช และอัญเชิญพระราชอนุชาต่างพระชนนีในสมเด็จพระไชยราชาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามว่า “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” เมื่อกองทัพพระเจ้ากรุงหงสาวดียกมาถึงกรุงศรีอยุธยา แล้วกองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ยกออกไป กองทัพฝ่ายกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีสมเด็จพระสุริโยไท พระอัครมเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จมาในทัพด้วยนี้ ได้ปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ทรงเข้าชนช้างกัน ความในพงศาวดารไทยรบพม่าพรรณนาไว้ว่า
“...ช้างพระที่นั่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที สมเด็จพระสุริโยไทเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางช้างข้าศึกไว้ พระเจ้าแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยไท ด้วยสำคัญว่าเป็นชายสิ้นพระชนม์ซบลงกับคอช้าง…”




ประวัติบุคลสำคัญ

                   พระราชประวัติสมเด็จพระสุริโยไท





สมเด็จพระสุริโยไท

สมเด็จพระสุริโยไท หรือ พระสุริโยไท วีรสรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีใน สมเด็จพระหาจักรพรรดิหรือพระเฑียรราชา พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยาราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยไท ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามี ในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในปี พ.ศ. ๒๐๙๑ พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยไท เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้

พระราชประวัติ


พระราชประวัติของสมเด็จพระสุริโยไทยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน - นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)

พระราชโอรสและพระราชธิดา

สมเด็จพระสุริโยไท มีพระราชโอรส-พระราชธิดา ๕ พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้
  • พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต เป็นพระมหาอุปราช ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ระหว่างไปหงสาวดี
  • พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเสียพระสุริโยไท
  • พระสวัสดิราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศรมหาราช และสมเด็จพรเอกาทศรถ
  • พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑
    ใน ปี พ.ศ. ๒๑๑๒
  • พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศ
    พระนางถูกพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี สาเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองชิงตัวไปก็เพราะพระเทพกษัตรีเป็นหน่อเนื้อของ
    พระสุริโยไท
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการก่อสร้าง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยไท ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพระอนุสาวรีย์ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสุริโยไท

วีรกรรม

ความเป็นมาของสงครามระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนั้น มีเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ได้รู้ข่าวกรุงศรีอยุธยาเกิดเหตุวุ่นวาย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระแก้วฟ้า พระราชโอรส และขุนวรวงศาธิราช และอัญเชิญพระราชอนุชาต่างพระชนนีในสมเด็จพระไชยราชาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามว่า “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” เมื่อกองทัพพระเจ้ากรุงหงสาวดียกมาถึงกรุงศรีอยุธยา แล้วกองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ยกออกไป กองทัพฝ่ายกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีสมเด็จพระสุริโยไท พระอัครมเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จมาในทัพด้วยนี้ ได้ปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ทรงเข้าชนช้างกัน ความในพงศาวดารไทยรบพม่าพรรณนาไว้ว่า
“...ช้างพระที่นั่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที สมเด็จพระสุริโยไทเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางช้างข้าศึกไว้ พระเจ้าแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยไท ด้วยสำคัญว่าเป็นชายสิ้นพระชนม์ซบลงกับคอช้าง…”